พระราชสำนัก "ร้านตัดผ้าวราภรณ์ รับตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี ชุดแบบฟอร์ม ชุดทำงาน ชุดไทย และจำหน่ายอุปกรณ์ประเภท ซิบ กระดุม ด้าย อื่นๆอีกมากมาย ยังจำหน่าย กรอบรูป ขายปลีกและส่งและยังบริการรับถ่ายรูปด่วน ขยายรูป ล้างรูป รับทำนามบัตร เคลือบบัตร ปริ้นงาน เข้าเล่ม สันเกียว สันกาว ถ่ายเอกสาร สีและขาวดำ ขนาดไซต์กระดาษตั้ง แต่ A4-F14-B4-A3 และยังบริการ ย่อ ขยายเอกสารฯลฯรับถ่ายทำ วีดีโอ ในและนอกสถานที่ราคาเป็นกันเอง ร้านตัดผ้าวราภรณ์อยู่ตรงข้าม โรงเรียนอนุบาลบ้านผือพิทยาภูมิถนนชนบทบำรุงอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ร้านตัดผ้าวราภรณ์ เปิด ปิดเวลา 06.00-18.00น. ทางร้านเปิดให้บริการทุกวัน ติดต่ดสอบถามโทร 0806299771 email hs3ghd15.s@gmail.comแฟกช์ 042282304.

พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ พ่อแห่งแผ่นดินของปวงประชาราษฎร์

เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถ บพิตร “วันนวมินทรมหาราช” 13 ตุลาคม 2566 “ไทยรัฐ กรุ๊ป” ขอร่วมเผยแพร่พระราชกรณียกิจสำคัญในด้านต่างๆ เพื่อน้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่

พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และการสาธารณสุข

เมื่อต้นรัชสมัย การแพทย์และการสาธารณสุขของไทยยังไม่เจริญนัก เกิดโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โรคเรื้อน อหิวาตกโรค โรคโปลิโอ และโรคเท้าช้าง ทรงตระหนักว่าสุขภาพอนามัยของราษฎรเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ ประกอบกับสมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี มีพระราชปณิธานในการพัฒนาและส่งเสริมด้านการสาธารณสุขของประเทศ การทรงงานของ “พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร” ในช่วงแรก จึงเน้นเรื่องการแพทย์และการสาธารณสุข เช่น พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างตึกมหิดลวงศานุสรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้า และผลิตยาป้องกันวัณโรค พระราชทานเรือเวชพาหน์ เพื่อรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่อยู่ริมแม่น้ำ พระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาหุ่นยนต์คุณหมอพระราชทาน เพื่อช่วยแพทย์ซักถามอาการผู้ป่วยโรคติดเชื้อโดยการควบคุมจากระยะไกล และช่วยจิตแพทย์ปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวช ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ก่อตั้งมูลนิธิ และพระราชทานทุนส่งเสริมการศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ การก่อตั้งมูลนิธิราชประชาสมาสัย เมื่อปี 2503 เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อน (ต่อมาในปี 2540 ได้ขยายขอบเขตให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วย) การก่อตั้งมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เมื่อปี 2534 เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคคลและองค์กรด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อมวลมนุษย์โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ตลอดจนการพระราชทานทุนส่วนพระองค์ ได้แก่ ทุนภูมิพล ก่อตั้งเมื่อปี 2495 สำหรับพระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศิริราชที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ทุนโปลิโอสงเคราะห์ ก่อตั้งเมื่อปี 2495 ทุนปราบอหิวาตกโรค ก่อตั้งเมื่อปี 2501 และทุนวิจัยประสาท ก่อตั้งเมื่อปี 2503 รวมทั้งในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามภูมิภาคต่างๆ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หน่วยแพทย์พระราชทานและหน่วยทันตกรรมพระราชทานออกหน่วยรักษาผู้ป่วย ด้วยพระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ทำให้โรคระบาดที่เกิดในประเทศไทยในอดีตสงบลง และทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศผู้นำด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในภูมิภาคนี้

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา

ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นสำหรับเป็นสถานที่ศึกษาของพระราชโอรสและพระราชธิดา บุตรหลานข้าราชบริพาร และประชาชนทั่วไป ได้แก่ โรงเรียนจิตรลดา โรงเรียนราชวินิต ในพระบรมราชูปถัมภ์ โรงเรียนราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ โรงเรียนพระดาบส รวมทั้งทรงรับอุปถัมภ์โรงเรียนไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์และในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แก่ โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ เป็นสถานศึกษาสำหรับลูกหลานชาวไทยภูเขาในภาคเหนือ โรงเรียนร่มเกล้า ในพระบรมราชานุเคราะห์ เป็นสถานศึกษาสำหรับเด็กในพื้นที่ชายแดนห่างไกลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ และโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อีกทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนไทย ครอบคลุมทุกสาขาอาชีพและทุกระดับการศึกษา ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับปริญญาเอก และพระราชทานทุนวิจัยสาขาต่างๆ อาทิ ทุนเล่าเรียนหลวงและทุนอานันทมหิดล สำหรับนิสิตนักศึกษาที่เรียนดีมีคุณธรรม ทุนนวฤกษ์ สำหรับนักเรียนยากจน และทุนการศึกษาสงเคราะห์ ในมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ทุนพระราชทานเหล่านี้ เป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ และมีผู้โดยเสด็จพระราชกุศลอย่างต่อเนื่อง เป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาลเพื่อสร้างอนาคตของชาติ

ด้วยทรงเห็นว่าการให้การศึกษาจะเป็นการสร้างอนาคตของชาติ จึงทรงก่อตั้งมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อสนับสนุนเยาวชนในพื้นที่ห่างไกลให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้ทั้งในและต่างประเทศสามารถศึกษาหาความรู้ได้ทุกเวลา พระราชทานแนวพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขึ้น เมื่อปี 2506 เพื่อจัดทำหนังสือที่รวบรวมความรู้ทุกแขนงให้เยาวชนได้อ่าน นับแต่เริ่มโครงการจนถึงปี 2559 จัดทำแล้ว 41 เล่ม เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ รวมทั้งพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่เหล่าบัณฑิตใหม่เป็นประจำทุกปี ด้วยทรงมุ่งหวังให้บัณฑิตได้นำความรู้ที่เล่าเรียนมาไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ เพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญยิ่งขึ้นไป

ทรงเป็นเสมือน “ครูของแผ่นดิน” ดังจะเห็นได้จากบทพระราชนิพนธ์ พระบรมราโชวาท และพระราชดำรัส ต่างสอดแทรกด้วยข้อคิด คติธรรม และปรัชญาชีวิต เพื่อเตือนใจคนไทยให้ดำเนินชีวิตในทางที่ถูกที่ควร เช่น พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก สอนเรื่องการบำเพ็ญความเพียร พระราชนิพนธ์เรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เพลงพระราชนิพนธ์ความฝันอันสูงสุด สอนเรื่องการทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทน และพระราชนิพนธ์เรื่องทองแดง สอนเรื่องความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ

พระราชกรณียกิจด้านศาสนา

ทรงเป็นพุทธมามกะที่ทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ทรงพระผนวชตามโบราณราชประเพณี ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี 2499 และประทับศึกษาพระธรรมวินัย ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน ในฐานะองค์พุทธศาสนูปถัมภก ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในโอกาสวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาตามราชประเพณี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรประจำฤดูโดยสม่ำเสมอ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดสร้างพระพุทธนวราชบพิตรขึ้น สำหรับพระราชทานเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด เพื่อประดิษฐาน ณ ศาลากลางจังหวัดต่างๆทั่วพระราชอาณาจักร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หล่อพระพิมพ์พระสมเด็จจิตรลดา เพื่อพระราชทานเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ทหารและตำรวจผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อันตรายมีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อทำนุบำรุงและปฏิสังขรณ์พระอารามต่างๆ อีกทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สังคายนาตรวจชำระพระไตรปิฎกเพิ่มเติม และให้จัดพิมพ์เผยแพร่เป็นฉบับภาษาบาลี ฉบับแปลภาษาไทย ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อปี 2530 พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการพัฒนาพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกของโลกจนสำเร็จ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์หนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็กพระราชทานในวันวิสาขบูชา อีกทั้งยังสนพระราชหฤทัยเรียนรู้พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อทรงว่างจากพระราชกรณียกิจจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงสนทนาธรรมกับพระเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทรงพระราชอุตสาหะศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาด้วยพระองค์เอง และเมื่อครั้งที่ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร) แห่งวัดราชผาติการาม เรื่องพระมหาชนก ได้เกิดแรงบันดาลพระราชหฤทัยต่อการทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องพระมหาชนก

นับว่าทรงเป็นเอกองค์อัครศาสนูปถัมภก ทรงอุปถัมภ์ศาสนาอื่นทุกศาสนาในแผ่นดินไทยทั้งศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สนับสนุนการแปลพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานเป็นภาษาไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทยอย่างสม่ำเสมอ ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร หรือติดตามความก้าวหน้าโครงการพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี มัสยิดประจำชุมชน และพระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อการทำนุบำรุงมัสยิด เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระชับสัมพันธไมตรีกับศาสนจักร ณ นครรัฐวาติกัน เมื่อปี 2503 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมชมกิจการด้านการแพทย์และการศึกษาขององค์กรคริสต์ศาสนาต่างๆในประเทศไทย พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะพราหมณ์ คณะผู้แทนชาวไทยซิกข์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสต่างๆ รวมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้คณะพราหมณ์เป็นผู้นำในการประกอบพระราชพิธีสำคัญตามโบราณราชประเพณี.

 
 
 ทำไมคนไทยรักและเทิดทูน สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง

แม้ในระยะหลัง “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” จะไม่ได้ทรงปรากฏพระองค์ต่อสาธารณชน แต่ความแน่วแน่พระราชหฤทัยในการอุทิศพระองค์เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ปวงประชาราษฎร์ยังคงเป็นที่ประจักษ์ชัดมิลืมเลือน

“ข้าพเจ้าโชคดีที่ได้มีโอกาสตามเสด็จฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเยี่ยมราษฎรทั่วประเทศมานานหลายปี ได้แลเห็นพระวิริยะอุตสาหะและพระราชศรัทธา ที่จะทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชน ทั้งยังทรงสอนเรื่องการทำงานให้แก่ข้าพเจ้าด้วย ทำให้ข้าพเจ้าซาบซึ้งในพระราชปณิธาน และได้ตั้งใจปฏิบัติงานที่ทรงมอบหมายมาอย่างสุดความสามารถ คืองานด้านสังคมสงเคราะห์ต่างๆ ได้แก่การช่วยเหลือประชาชนที่เจ็บไข้ได้ป่วย ช่วยเหลือทางด้านสวัสดิการครอบครัว และส่งเสริมอาชีพทางด้านหัตถกรรม

เพราะงานเพื่อประชาชนทั้งหลายมีความสำคัญเสมอกัน ย่อมต้องปฏิบัติไปพร้อมๆกันจะละเว้นทางหนึ่งทางใดเสียมิได้...” พระราชดำรัสดังกล่าวของ “สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง” ซึ่งพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯถวายพระพรชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2530 คงพอสะท้อนได้ดีถึงน้ำพระราชหฤทัยอันยิ่งใหญ่ที่ทรงห่วงใยในทุกข์สุขของประชาชนคนไทย

 “ทรงอ่านความทุกข์จากแววตา” ท่านผู้หญิงพรรณวดี จุฑารัตกุล นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ย้อนรำลึกความทรงจำว่า “สิ่งที่พวกเรายอมรับในพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านคือ ทรงมีสายพระเนตรที่ฉับไวมาก ปกติทุกครั้งที่มีชาวบ้านเข้าเฝ้าฯ จะมีคณะทำงานที่ไปล่วงหน้าเพื่อคัดเลือกชาวบ้านมาให้การรักษา เลือกไปเถิด มองไปเถิด สามสี่รอบก็มองไม่เห็น แต่พอพระองค์ท่านเสด็จฯผ่าน ต่อให้นั่งอยู่ไกลแค่ไหนก็ทอดพระเนตรเห็น ทรงชี้ให้พวกเราดูว่าคนนั้นป่วยใช่ไหม แล้วก็เป็นจริงตามนั้น

ท่านทรงชี้ถามคนไหน คนนั้นเจ็บหนักทุกข์หนักทุกคน...ทรงสอนว่า เวลาจะดูประชาชนคนไหนเจ็บ ป่วยหรือมีความทุกข์ ให้ดูที่แววตา ดูที่ใบหน้า เพราะตาจะบอกทุกอย่างถึงความทุกข์ ให้มองลึกเข้าไป ค่อยๆคุยกับเขา จะดูจากเสื้อผ้าหรือการแต่งกายภายนอกไม่ได้ เพราะเวลามาเข้าเฝ้าฯ ชาวบ้านจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ดีที่สุดอยู่แล้ว”

“ไม่มีวันไหนที่จะหยุดทรงงานเพื่อแผ่นดิน” ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง บอกเล่าถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรชาวไทยว่า “พระองค์ทรงห่วงใยประชาชนตลอดเวลา พระองค์มีแต่ให้ แล้วสิ่งที่ทั้งสองพระองค์ทรงให้มา ก็คือสิ่งที่ถาวร ทรงทำทุกอย่างให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ให้ประชาชนมีกินไปชั่วลูกชั่วหลาน พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในโครงการต่างๆ มันไม่เป็นตัวเงินที่เอามาแจก คนนั้นเอาไปเท่านี้ คนนี้เอาไปเท่านั้น เงินใช้เมื่อไหร่ก็หมด แต่ว่าสิ่งที่พระองค์ให้เป็นสิ่งถาวร เป็นสิ่งที่จะอยู่คู่กับบ้านเรา คู่กับแผ่นดินเราทรงให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ เชิดหน้าชูตาประเทศชาติ พระองค์ทรงทำงานศิลปาชีพขึ้นมาเป็นมรดกของชาติ

งานเหล่านี้ไม่ได้ทำวันนี้พรุ่งนี้เสร็จ แต่ทรงทำมานับสิบปี ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งนั้น จนบัดนี้มรดกของชาติ ทั้งถมทอง งานคร่ำ ที่เกือบจะสูญหายไปถูกนำกลับมาสืบสานไว้แล้ว อยากให้ทุกคนได้มองเห็นสิ่งเหล่านี้ และมองดูพระองค์ด้วยว่า ทรงทำงานอย่างไร พูดภาษาง่ายๆ พระองค์ทรงทำงานด้วยหัวใจ ทรงทำงานทุ่มเททั้งหัวใจของพระองค์กับประชาชนคนไทยด้วยความรัก ทรงนึกถึงประชาชนของพระองค์ตลอด ทรงทำให้กับแผ่นดิน ทรงทำให้กับคนไทย ไม่มีวันไหนเลยที่จะทรงหยุด”

“ความฝันอันสูงสุด” ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน ลัทธิทางการเมืองคอมมิวนิสต์ได้พยายามแทรกซึมเข้ามาในหมู่คนไทย เกิดการสู้รบปะทะกันอย่างหนักทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียระหว่างคนไทยด้วยกันอย่างมาก ทั้งทหารและตำรวจได้สละชีพเป็นจำนวนมาก สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงสะเทือนพระทัยยิ่งในความเสียสละของเหล่าผู้กล้าในสมรภูมิ ได้เสด็จฯไปยังสมรภูมิเหล่านั้นเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารและตำรวจ ด้วยทรงทราบดีว่าขวัญและกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญของการปฏิบัติงาน

พระองค์ยังมีพระราชประสงค์จะพระราชทานกำลังใจแก่บรรดาข้าราชการ, ทหาร, ตำรวจ และพลเรือน มิให้ท้อถอยในการปฏิบัติหน้าที่ต่อชาติบ้านเมือง จึงมีพระราชเสาวนีย์ให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เขียนคำกลอนเตือนใจ แล้วพิมพ์แจกเหล่าข้าราชการ, ทหาร, ตำรวจ และพลเรือน ต่อมาทรงกราบบังคมทูลขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานทำนองเพลง จึงกลายเป็นที่มาของเพลงพระราชนิพนธ์ “ความฝันอันสูงสุด”

“ไปบอกเจ้าหนี้นะคะ ว่าพระราชินีจะใช้หนี้ให้” นายแพทย์ภากร จันทนมัฎฐะ บอกเล่าถึงความประทับใจระหว่างมีโอกาสปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ติดตามเสด็จ ความตอนหนึ่งว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นสมเด็จพระราชินีประทับพับเพียบกับพื้น และไถ่ถามราษฎรถึงความทุกข์ยากของเขาเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง ทั้งที่พระชนมายุเพียงนี้แล้ว แต่หลายครั้งที่พระองค์ทรงงานนานถึง 6 ชั่วโมงโดยมิได้ลุกเลย เพื่อให้การดูแลผู้ยากไร้อย่างดีที่สุด ครั้งหนึ่งข้าพเจ้านั่งใกล้พระองค์ท่าน จนได้ยินการสนทนา และทราบว่าหญิงชาวบ้านผู้มาเข้าเฝ้านั้นมีความทุกข์เรื่องหนี้สิน สามีจากเธอไป และทิ้งเธอให้เผชิญหนี้สินตามลำพัง พร้อมด้วยลูกเล็กๆอีก 2 คน ทรงมีรับสั่งถามว่าเป็นหนี้เท่าไหร่ เธอผู้นั้นไม่ยอมตอบเพียงแต่ทูลว่า หนี้นั้นมากมายเหลือเกิน และข้าพเจ้าได้ยินสมเด็จพระราชินีรับสั่งว่า “ไปบอกเจ้าหนี้นะคะ ว่าพระราชินีจะใช้หนี้ให้” ข้าพเจ้าถึงกับน้ำตาไหลโดยไม่รู้ตัว ผู้สูงศักดิ์ที่สุดของแผ่นดินประทับอยู่ท่ามกลางชาวบ้านยากไร้ ทรงมอบความรัก ความช่วยเหลือให้...

เด็กๆจะได้รับขนมแจก ผู้ป่วยจะมีแพทย์ดูแล ผู้สูงอายุจะได้รับแว่นสายตา ผู้ยากไร้จะได้รับพระราชทานความช่วยเหลือเรื่องทุนรอน ไม่มีผู้ใดที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ ข้าพเจ้าเคยสงสัยว่า ต้องใช้พระราชทรัพย์มากเพียงใด เพราะทุกครั้งที่ราษฎรนำผลผลิตของตนมา ก็ได้รับคำตอบว่า “พระราชินีรับซื้อทั้งหมดค่ะ” พระองค์ต้องใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และเงินที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวายเข้ามูลนิธิศิลปาชีพ ช่วยเหลือผู้คนที่สังคมส่วนใหญ่พากันลืมเลือน ผู้คนที่ไม่มีโอกาส พระองค์ได้คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้แก่คนยากไร้ที่มิได้รับความใส่ใจจากผู้ใด เสียดายที่หลายครั้งโทรทัศน์ไม่อาจถ่ายทอดความรักความเอื้ออาทรของพระองค์ได้”

“ขาดทุนของฉันคือกำไรของแผ่นดิน” ในปี 2540 สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จฯเยี่ยมราษฎรที่บ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีราษฎรชาวไทยภูเขาราว 200-300 คน มาเข้าเฝ้าฯ และขอพระราชทานความช่วยเหลือของานทำ ด้วยแต่ก่อนเคยติดยาเสพติด แต่ขณะนี้ได้รับการบำบัดหายแล้ว จึงมีพระราชเสาวนีย์ให้คณะทำงานออกหาพื้นที่ในบริเวณใกล้เคียงเพื่อจะทำ “ฟาร์มตัวอย่าง” และให้พวกชาวเขาที่เลิกยาเสพติดมารับจ้างทำงาน จึงถือกำเนิดเป็นฟาร์มตัวอย่างแห่งแรก เมื่อแรกดำเนินงานได้จ้างชาวเขาทำงานวันละ 40 คน เพื่อให้คุ้มกับผลประกอบการ

กระนั้น เมื่อคณะผู้ทำงานได้เข้าเฝ้าฯกราบบังคมทูลถวายรายงานการดำเนินงาน จึงมีพระราชกระแสรับสั่งว่าไม่ถูกพระราชประสงค์ ด้วยมีชาวเขาจำนวนมากที่มาของานทำ แต่ฟาร์มตัวอย่างจ้างไว้แค่ 40 คน พระองค์รับสั่งประโยคอมตะที่ยังคงก้องอยู่ในหูของประชาชนคนไทยว่า “อย่ามาพูดเรื่องกำไรขาดทุนกับฉันนะ ฉันต้องการให้คนจนมีงานทำมากๆ ขาดทุนของฉันคือกำไรของแผ่นดิน” การทำให้คนยากจนในชุมชนมีงานทำนั้น ทำให้เขามีรายได้เลี้ยงตัวและครอบครัว ไม่ต้องไปเป็นโจรเป็นขโมย หรือยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า ไม่ไปเผาป่า เมื่อชุมชนมีความสุขสงบ สังคมก็สุขสงบ ประเทศชาติก็จะมีความสุขสงบ นี่แหละคือ “กำไรของแผ่นดิน”

เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา “สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง” วันที่ 12 สิงหาคม 2566 ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลกได้อภิบาลปกปักรักษาและคุ้มครองพระองค์ให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญ และทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง สถิตเป็นพระมิ่งขวัญของปวงประชาสืบไป.

 

แถลงการณ์สํานักพระราชวัง ฉบับที่ 2 "พระองค์ภา" พระอาการโดยรวมคงที่


แถลงการณ์สํานักพระราชวัง เรื่อง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงพระประชวร ฉบับที่ 2

วันที่ 19 ธันวาคม 2565 แถลงการณ์สํานักพระราชวัง เรื่อง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงพระประชวร ฉบับที่ 2

ตามที่สำนักพระราชวังได้มีแถลงการณ์ เรื่อง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงพระประชวรหมดพระสติ ด้วยพระอาการทางพระหทัย และทรงเข้ารับการรักษาพระองค์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พุทธศักราช 2565 ความทราบทั่วกันแล้วนั้น

คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ได้รายงานว่าพระอาการโดยรวมคงที่ในระดับหนึ่ง

จังหวะการเต้นของพระหทัยควบคุมได้ด้วยพระโอสถ ผลการตรวจพระหทัย พบว่าพระหทัยยังบีบตัวได้ไม่ดีเท่าที่ควร ผลการฉีดสีของหลอดเลือดพระหทัยไม่พบความผิดปกติ คณะแพทย์ได้ถวายพระโอสถและเครื่องมือเพื่อช่วยการทำงานของพระหทัย พระปัปผาสะ พระวักกะ และติดตามพระอาการอย่างใกล้ชิดต่อไป.

แถลงการณ์สํานักพระราชวัง ฉบับที่ 2 "พระองค์ภา" พระอาการโดยรวมคงที่
แถลงการณ์สำนักพระราชวัง "ในหลวง-ราชินี" ทรงติดเชื้อ ไวรัสโควิด-19

แถลงการณ์สำนักพระราชวัง "ในหลวง-ราชินี" ทรงติดเชื้อ ไวรัสโควิด-19 พระอาการโดยรวมไม่รุนแรง ขอพระราชทานให้ทรงงดพระราชกรณียกิจสักระยะหนึ่ง

วันที่ 17 ธันวาคม 2565 สำนักพระราชวังเผยแพร่แถลงการณ์สำนักพระราชวังเรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ความว่า เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พุทธศักราช 2565 เวลา 23.30 น. คณะแพทย์ประจำพระองค์ ได้ถวายการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ตามวาระปรกติ ผลการตรวจพบว่า ทรงติดเชื้อ มีพระอาการน้อยมาก พระอาการโดยรวมไม่รุนแรง คณะแพทย์ฯ ถวายการรักษาด้วยพระโอสถ และขอพระราชทานให้ทรงงดพระราชกรณียกิจสักระยะหนึ่ง


จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน


แถลงการณ์สำนักพระราชวัง "ในหลวง-ราชินี" ทรงติดเชื้อ ไวรัสโควิด-19




 

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงสวดมนต์ ขอให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ หายประชวร

วันที่ 16 ธันวาคม 2565 มีรายงานว่า จากกรณี สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เรื่อง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ทรงพระประชวรหมดพระสติ ด้วยพระอาการทางพระหทัย ขณะทรงทำการฝึกสุนัขทรงเลี้ยงเพื่อร่วมแข่งขัน ที่สนามฝึกกองพันสุนัขทหาร จ.นครราชสีมา

ล่าสุด ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงโพสต์ข้อความผ่านอินสตาแกรมส่วนพระองค์ เป็นพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และข้อความ "Wishing you a speedy recovery #สวดมนตร์ถวายพระพร"

ทูลกระหม่อมทรงสวดมนต์ ขอให้สมเด็จเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ หายประชวร

 

มูลนิธิบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญกับกรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) และเครือข่ายพันธมิตรภาครัฐ และเอกชนทุกภาคส่วน จัดงานเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ Bangkok Art Biennale 2022 (BAB 2022) อย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้แนวคิดใหม่ “CHAOS : CALM โกลาหล : สงบสุข” โดยกำหนดจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี ถือเป็นโครงการสำคัญที่จัดขึ้นมาเพื่อให้กรุงเทพมหานครได้เป็นศูนย์กลางแห่งการท่องเที่ยวที่สำคัญทางด้านศิลปะร่วมสมัยในอันดับต้นๆของโลกและเป็นจุดหมายของนักเดินทางผู้รักงานศิลปะ โอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงาน ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อเร็วๆนี้

เปิดฉากเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่
เปิดฉากเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่

นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในนามประธานกรรมการ และผู้ก่อตั้งมูลนิธิบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ เปิดเผยว่า งาน BAB 2022 ถือเป็นโครงการสำคัญที่จัดขึ้นมาโดยมีจุดมุ่งหวังเพื่อให้กรุงเทพ มหานครได้เป็นศูนย์กลาง แห่งการท่องเที่ยวที่สำคัญทางด้านศิลปะร่วมสมัยในอันดับต้นๆของโลก และเป็นจุดหมายของนักเดินทางผู้รักงานศิลปะจากทั่วโลก สำหรับปี 2022 เรียกว่ามีความพิเศษเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะนำผลงานจากศิลปินทั่วโลกมาจัดแสดงไว้ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่หลักในการจัดแสดงงานบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ เพื่อดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวบนพื้นที่ใจกลางเมืองได้เป็นจำนวนมากแล้ว ยังได้เพิ่มพื้นที่จัดแสดงงานแห่งใหม่ขึ้นที่ศูนย์การประชุม แห่งชาติสิริกิติ์ ที่พร้อมเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยว ผู้รักงานศิลปะที่จะเดินทางมาจากทั่วโลก และยังถือเป็นโอกาสพิเศษในฐานะที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมระดับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก หรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ทำให้คณะประชุมระดับผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC 2022 ได้มีโอกาสชมงานศิลปะจากเหล่าศิลปินที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ด้วย

เปิดฉากเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่
เปิดฉากเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่

เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022 ในปีนี้ได้นำเสนอผลงานศิลปะกว่า 200 ชิ้น จากศิลปินชั้นนำของโลกจำนวน 73 ศิลปิน 35 สัญชาติ ที่จะมาสร้างความอลังการและความยิ่งใหญ่ให้กับวงการศิลปะภายใต้แนวคิดใหม่ “CHAOS : CALM โกลาหล : สงบสุข” จัดแสดงตามสถานที่สำคัญต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร 12 แห่ง ได้แก่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร/วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร/วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร/หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ มหานคร/ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์/มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้/ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์/สามย่านมิตรทาวน์/เดอะ ปาร์ค/เดอะพรีลูด วันแบงค็อก/JWD Art Space และในพื้นที่เสมือนจริง BAB Virtual Venue โดยจะจัดแสดงตั้งแต่วันนี้ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2566 ติดตามตารางกิจกรรมของเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอกอาร์ต เบียนนาเล่ 2022 เพิ่มเติมได้ทาง Facebook และ Instagram : Bkkartbiennale.

เปิดฉากเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่
เปิดฉากเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่
เปิดฉากเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่

 

ในหลวง-พระราชินี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2565 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ที่รัฐบาลจัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทำเนียบรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช 2565 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรม มหาราชวัง ในวันที่ 29 ก.ค. อันเป็นวันที่สองของการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา

ทั้งนี้ เมื่อเวลา 10.26 น. วันที่ 29 ก.ค. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช 2565 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง โอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหา วัชรราชธิดาและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยเสด็จด้วย ในการนี้ สมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเข้าท้อง พระโรงหน้าพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระราชทานเงินแก่ข้าราชการผู้ทำหน้าที่โหรหลวงบูชาเทวดานพเคราะห์และเสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระสยามเทวาธิราช แล้วเสด็จออกจากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยทางพระทวารเทวราชมเหศรไปทรงจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูป เทวรูปเทวดานพเคราะห์

จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการพานทองสองชั้น บูชาพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ รัชกาลที่ 9 และพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร รัชกาลที่ 9 ที่หน้าแท่นพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แล้วทรงรับการถวายความเคารพ ของผู้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์การพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา จำนวน 71 รูป และพระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ จำนวน 5 รูป รวมจำนวน76รูป ถวายพระพร จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทรงประเคนปิ่นโตภัตตาหารแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก นอกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์ องคมนตรี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ประเคนจนครบ 76 รูป

ต่อมา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชบพิธสถิต มหาสีมาราม ขึ้นนั่งยังธรรมาสน์ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนดูหนังสือเทศน์ พระราชทานแก่เจ้าพนักงานพระราชพิธีเพื่อเชิญไปปักที่จงกลธรรมาสน์ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ถวายศีล ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเศษ กัณฑ์ 1 จบ พระสงฆ์ทั้งนั้นถวายพระพร จบแล้ว เจ้าพนักงานกราบบังคมทูลทรงพระราชอุทิศปล่อยปลาเป็นพระราชอภัยทาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล เสด็จไปทรงปล่อยปลาจำนวน 200 ตัว ณ ท่าราชวรดิฐ

จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์แด่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์และทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง พระราชาคณะ จนครบ 76 รูป ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ ที่หน้าพระแท่นพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แล้วทรงรับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ก่อนเสด็จออกจากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จฯกลับพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

ต่อมาเวลา 19.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯไปทรงเป็นประธานงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2565 ที่รัฐบาลจัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล มี พล.อ.ประยุทธ์ พร้อมนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา รับเสด็จและนายกรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วถวายสูจิบัตรงานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทอดพระเนตรการแสดงเฉลิมพระเกียรติชุด “อาศิรวาทราชสดุดี” โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม เป็นการแสดงถึงความงดงามประณีตในรูปแบบนาฏศิลป์จารีตประเพณี (ราชสำนัก) ที่ได้รับการสืบทอดกระบวนท่ารำ การขับร้องและท่วงทำนองเพลงเป็นแบบแผนมาแต่โบราณสืบมาจนปัจจุบัน การแสดงนำมาเรียงร้อยปรับแต่งขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะ จบแล้ววงดุริยางค์กรมศิลปากร บรรเลงเพลงสดุดีจอมราชา 2 จบ และผู้ร่วมงานได้ร่วมขับร้องเพลงสดุดีจอมราชาเพื่vเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อได้เวลาอันสมควร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินกลับ

ทั้งนี้ รัฐบาลได้เชิญพระราชวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรี ประธาน/รองประธานองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หัวหน้าส่วนราชการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ประธานคณะกรรมาธิการสามัญ สภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานคณะกรรมาธิการสามัญ วุฒิสภา หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ คณบดี คณะทูต เอกอัครราชทูตอาวุโสประจำภูมิภาคต่างๆ เลขาธิการ ESCAP ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสมาคมธนาคารไทย ประธานสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ พร้อมคู่สมรส เข้าร่วมในงานสโมสรสันนิบาตฯด้วย



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด "พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 9" ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

เมื่อเวลา 17.50 น. วันที่ 13 ต.ค. 2565 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร การนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยเสด็จฯ ด้วย

ในหลวง-พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด "พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 9"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงกราบ ประทับพระราชอาสน์ ทรงศีล ประธานสงฆ์ถวายศีลจบ เสด็จออกจากพลับพลาพิธี ไปยังมณฑลพิธีบวงสรวง เสด็จฯ ไปยังโต๊ะเครื่องบวงสรวงสังเวย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดเทียนทอง เทียนเงิน และธูปที่โต๊ะเครื่องบวงสรวงสังเวย แล้วทรงจุดธูปหางปักที่เครื่องสังเวย ขณะนี้ โหรหลวงลั่นฆ้องชัย พราหมณ์เป่าสังข์ พนักงานภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์ ชาวพนักงานประโคมแตร ดุริยางค์

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐานถวายเครื่องราชสักการะ ทรงโปรยข้าวตอก ดอกไม้ ที่โต๊ะเครื่องบวงสรวงสังเวย ทรงคม เสด็จออกจากมณฑลพิธีบวงสรวง เสด็จฯ ไปยังแท่นทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ขณะนี้ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ทหารกองเกียรติยศ สำหรับพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ถวายความเคารพ ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ชาวพนักงานประโคมกระทั่ง แตร มโหระทึก

ในหลวง-พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด "พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 9"

จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมแผ่นคำจารึกที่ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวางพุ่มดอกไม้ ทรงวางพวงมาลัย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะ ทรงกราบ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงวางพุ่มดอกไม้ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และทรงวางพุ่มดอกไม้ส่วนพระองค์ ทรงวางพวงมาลัย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะ ทรงกราบ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงวางพุ่มดอกไม้ ทรงวางพวงมาลัย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะ ทรงกราบ เสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ประทับพระราชอาสน์ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก เสด็จฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ ทรงลาพระสงฆ์ เสด็จออกจากพลับพลาพิธี ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พุทธศักราช 2565

ในหลวง-พระราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด "พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 9"
อย่างไรก็ตาม สำนักพระราชวัง เปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีความประสงค์จะเข้าถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ เข้าถวายสักการะได้ในระหว่างวันที่ 14-16 ต.ค. 2565 เวลา 08.00-19.00 น. พร้อมรับชมการแสดงจากดุริยางค์ 4 เหล่าทัพ ตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น. ก่อนที่จะปิดเพื่อปรับภูมิทัศน์ของอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ให้เสร็จสมบูรณ์ เพื่อให้สมพระเกียรติ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องประชาชนต่อไป

 

{Fullwidth}{Fullwidth}
แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า

สื่อโฆษณา

banphuetvnewsone
"ร้านตัดผ้าวราภรณ์ รับตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี ชุดแบบฟอร์ม ชุดทำงาน ชุดไทย และจำหน่ายอุปกรณ์ประเภท ซิบ กระดุม ด้าย อื่นๆอีกมากมาย ยังจำหน่าย กรอบรูป ขายปลีกและส่งและยังบริการรับถ่ายรูปด่วน ขยายรูป ล้างรูป รับทำนามบัตร เคลือบบัตร ปริ้นงาน เข้าเล่ม สันเกียว สันกาว ถ่ายเอกสาร สีและขาวดำ ขนาดไซต์กระดาษตั้ง แต่ A4-F14-B4-A3 และยังบริการ ย่อ ขยายเอกสารฯลฯรับถ่ายทำ วีดีโอ ในและนอกสถานที่ราคาเป็นกันเอง ร้านตัดผ้าวราภรณ์อยู่ตรงข้าม โรงเรียนอนุบาลบ้านผือพิทยาภูมิถนนชนบทบำรุงอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ร้านตัดผ้าวราภรณ์ เปิด ปิดเวลา 06.00-18.00น. ทางร้านเปิดให้บริการทุกวัน ติดต่ดสอบถามโทร 0806299771-สนใตลงสื่อโฆษณา0612301227 email hs3ghd15.s@gmail.comแฟกช์ 042282304.